วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่2

วันที่ 30 เดือนมิถุนายน 2553
วิทยาศาสตร์ คือ
- ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง
- ความพยายามของมนุษย์เช่นนี้ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ
- การทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง โดยการสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอ ช่วยเชื่อมโยงเซลล์สมองของเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กๆเพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิดเป็นการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้นทฤษฎีสติปัญญาของเพียเจย์ กล่าวว่า พัฒนาการเกิดขึ้นจากการทำงานของสมอง คือ ซึมซับข้อมูลและปรับเป็นความรู้ใหม่ เพื่อความอยู่รอดถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจ
ธรรมชาติของเด็ก
- ปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขา โดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถาม
- ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ
- ไม่จัดประสบการณ์เรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสมทบทวนบทบาทของผู้ใหญ่
- เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการให้ความสนใจกับคำถาม
- ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ
- จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม
- ครูและผู้ปกครองต้องยอมรับในเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้
- ครูต้องแม่นยำในพัฒนาการเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก (สามารถดูคุณลักษณะตามวัยได้ที่ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546)

สรุปการเรียนในวันนี้

ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์เบื้องต้นของเด็กว่ามันง่ายหรือมันยากสำหรับเด็กปฐมวัย การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กสำคัญมากเพราะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับชิวิตประจำวันของตัวเด็กเอง เช่น การสังเกต การลงมือปฎิบัติทำให้เด้กได้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และยังช่วยให้เราทราบวิทยาศาสตร์เชื่อมโยงกับการพัฒนาการของเด็กทางด้านสติปัญญา


สรุปความคิดแบบกลุ่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น